อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ลงทะเบียน/เข้าสู่ระบบ
โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ปรับขนาดตัวอักษร
ภาษา
อื่นๆ
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

“ ท่าศาลา ” เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอท่าศาลา พื้นที่ทั้งหมดตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลมีความยาวไปตามแนวชายฝั่งจากเหนือจรดใต้ ประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการอำเภอท่าศาลา มีอาณาเขตติดต่อดังต่อไปนี้

ทิศเหนือ จรดตำบลท่าขึ้น
ทิศใต้ จรดตำบลปากพูน
ทิศตะวันออก จรดทะเลอ่าวไทย
ทิศตะวันตก จรดตำบลไทยบุรี - โพธิ์ทอง
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา
ตามหนังสือ ชุดท่าศาลาคดีศึกษา ด้วยรักและภูมิใจในแผ่นดิน ท่าศาลา 100 ปี พ.ศ. 2541 โดยอาจารย์บุญเสริม แก้วพรหม ได้เขียนไว้ในหน้า 13 ทำไมจึง “ ท่าศาลา ” ไว้ว่า บ้านท่าศาลา คือ ชื่อหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมคลองท่าศาลา ซึ่งเป็นคลองเล็ก ๆ แยกจากคลองท่าสูง เป็นท่าจอดเรือสินค้าจากต่างเมือง และมีศาลาพักร้อนปลูกอยู่ที่ท่าจอดเรือ “ ท่าศาลา ” จึงชื่อหมู่บ้านตามนัยนี้และเมื่อย้ายที่ตั้งจากวัดเตาหม้อมาตั้งที่หมู่บ้านนี้จึงเปลี่ยนเป็นชื่ออำเภอเป็น “อำเภอท่าศาลา” ไปตามหมู่บ้าน

ปัจจุบันมีศาลาซึ่งเป็นพื้นคอนกรีต มุงกระเบื้อง เป็นศาลาถาวรตั้งอยู่ริมคลองท่าศาลา บริเวณท่าจอดเรือสมัยก่อนอยู่หลังหนึ่งเรียกว่า “ ศาลาน้ำ ” (ศาลาดังกล่าวได้รับการปรับปรุงโดยสุขาภิบาลท่าศาลา) คำว่า“ ท่าศาลา ” นั้นเป็นคำที่ออกเสียงตามภาษากลางซึ่งเป็นภาษาราชการ แต่ภาษาใต้ซึ่งเป็นภาษาพูดของคนนครฯ โดยทั่วไปนั้น คงเรียกว่า “ ท่าหลา ” นั้นเอง

วิสัยทัศน์

“ มุ่งมั่นพัฒนารอบด้าน ยกระดับท่าศาลาสู่ชุมชนเมืองเศรษฐกิจ เป็นแหล่งการค้าประมงอ่าวทองคำ
พร้อมนำศาสตร์พระราชา ชูคุณค่า เขา ป่า นา เล เสริมสร้างเสน่ห์พหุวัฒนธรรม เลิศล้ำความทันสมัย เป็นเมืองปลอดภัย น่าอยู่ น่าเที่ยว ”

พันธกิจ

1 ส่งเสริมการศึกษาให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานและครอบคลุมทุกระบบ
2 การส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
3 การสนับสนุนส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนให้ดีถ้วนหน้า
4 ควบคุม ป้องกันโรคติดต่อและโรคระบาดต่างๆ
5 พัฒนาด้านเศรษฐกิจ และส่งเสริมกลุ่มอาชีพต่างๆ
6 เสริมสร้างศักยภาพคน ครอบครัว สังคม และขบวนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน/ ชุมชน
7 สนับสนุน และส่งเสริมการจัดระเบียบสังคมในชุมชนให้มีความมั่นคงและคุ้มครองความปลอดภัยทางสังคม
8 พัฒนาการเมือง และการบริหารให้มีประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย
9 พัฒนา สนับสนุน และส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ให้ได้มาตรฐานและเพียงพอ
10 พัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ